กรอบเนื้อหาวิชา การจัดการเรียนการสอน “หนังสือ ทะเลและมหาสมุทร และผลประโยชน์ของชาติทางทะเล” และวิชา “เขตทางทะเลของประเทศไทย ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และผลประโยชน์ของชาติทางทะเล” ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
รัฐบาลได้ให้ความสำคัญถึงการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลในทุกมิติจึงกำหนดให้มี แผนความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมป้องกัน และรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล พระราชบัญญัติ เรื่อง การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล พ.ศ. 2562 มีพระราชบัญญัติเพื่อการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและ เกิดประโยชน์สูงสุด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2562 ประกอบด้วย 5 หมวด 45 มาตรา โดย มาตรา 5 กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เรียกโดยย่อว่า “นปท.” ประกอบด้วยรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธานกรรมการ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมเป็นคณะกรรมการโดยตำแหน่ง ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์แผนความมั่นคงทางทะเล และมาตรการในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล แผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และยุทธศาสตร์ชาติ ตลอดจนติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน และได้มีการจัดทำหนังสือ เรื่อง ทะเลและมหาสมุทร และผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เพื่อให้คนไทยเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของทะเล ร่วมปกป้อง อนุรักษ์ และใช้ประโยชน์อย่างเห็นคุณค่าของทะเลไทย นอกจากนี้คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563 มติเห็นชอบแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) พ.ศ. 2564 – 2565 โดยกำหนดให้กระทรวงศึกษาธิการ พิจารณาจัดทำสาระสำคัญและเนื้อหาที่จะบรรจุเรื่องเขตทางทะเล และเขตทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในหลักสูตรการศึกษาทุกระดับชั้น ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ของภาคประชาชน
การรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเป็นประเด็นที่รัฐบาลให้ความสำคัญ และได้มอบหมายให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ รับผิดชอบและประสานการดำเนินการจัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์ระดับชาติ เพื่อเป็นกรอบแนวทางให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ได้จัดทำแผนความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล พ.ศ. 2566 – 2570 ซึ่งมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการในแนวทางการดำเนินการที่ ๗ การบริหารจัดการผลประโยชน์ ของชาติทางทะเลของภาครัฐ แนวทางการดำเนินการย่อยที่ 7.6 เผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับทะเลให้กับนักเรียน นักศึกษา รวมถึงประชาชนทั่วไปได้รับทราบ โดยเฉพาะการสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญและการใช้ประโยชน์จากทะเลอย่างยั่งยืนพร้อมทั้งส่งเสริมให้ภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาคประชาสังคม มีส่วนร่วมในการรักษาผลประโยชนของชาติทางทะเล
กระทรวงศึกษาธิการได้เห็นความสำคัญของการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เขตทางทะเล และเขตทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จึงได้นำเรื่อง ทะเลและมหาสมุทร และผลประโยชน์ของชาติทางทะเลบูรณาการกับเรื่องเขตทางทะเล และเขตทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และได้มีการโครงการสร้างขับเคลื่อนการสร้างองค์ความรู้ทางทะเลและมหาสมุทร และผลประโยชน์ของชาติทางทะเล รวมทั้งเขตทางทะเล และเขตทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งไปสู่การเรียนการสอนในสถานศึกษาในพื้นที่นำร่องของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้เด็กนักเรียน นักศึกษาได้เรียนรู้ทะเล และเกิดความรักความหวงแหนในการปกป้องผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และเห็นคุณค่าของทะเลไทยอย่างแท้จริงรวมถึงมีความตระหนักในหน้าที่ของคนไทยในการปกป้องทะเลไทย และผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และเกิดความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากทะเลไทย และเป็นการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ขยายผลไปยังสถานศึกษาให้ครอบคลุม ทุกสถานศึกษาในพื้นที่ 23 จังหวัดชายทะเล ให้ครบร้อยละ 100 ภายในปี 2570
เนื้อหาหนังสือ เรื่อง ทะเลและมหาสมุทร และผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
- บทที่ 1 ลักษณะภูมิศาสตร์ทางทะเล
– ลักษณะภูมิศาสตร์ทางทะเลของโลก
– ลักษณะภูมิศาสตร์ทางทะเลของภูมิภาคเอเชีย
– ลักษณะภูมิศาสตร์ทางทะเลของไทย
- บทที่ 2 เขตทางทะเล
– ลักษณะเขตทางทะเล
– ขอบเขตทางทะเลของไทย
– อำนาจอธิปไตย สิทธิอธิปไตย และเขตอำนาจในเขตทางทะเลต่าง ๆ ของไทย
- บทที่ 3 ประโยชน์จากทะเล
– กิจกรรมการใช้ประโยชน์ทางทะเล
– มูลค่าการใช้ประโยชน์จากทะเลของไทย
– ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากทะเล
- บทที่ 4 กฎหมายและหน่วยงานทางทะเล
– กฎหมายทะเลระหว่างประเทศ
– กฎหมายไทยที่เกี่ยวกับทะเล
– องค์กรและหน่วยงานรับผิดชอบในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
– ความร่วมมือระหว่างประเทศ
- บทที่ 5 ทะเลต้องปกป้อง : หน้าที่ของคนไทย
– การปกป้องดูแลและใช้ประโยชน์จากทะเล
– หน้าที่ในการเป็นเจ้าของทะเล
กรอบเนื้อหาวิชาเขตทางทะเลของประเทศไทย ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
ประกอบด้วย ความเป็นมา จุดเน้นและขอบข่ายวิชาเขตทางทะเลของประเทศไทย ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และผลประโยชน์ของชาติทางทะเล การจัดการเรียนรู้วิชาเขตทางทะเลของประเทศไทย ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และผลประโยชน์ของชาติทางทะเล การเรียนการสอนวิชาเขตทางทะเลของประเทศไทย ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และผลประโยชน์ของชาติทางทะเล คำอธิบายวิชาเขตทางทะเลของประเทศไทย ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ผลการเรียนรู้ โครงสร้างเนื้อหาวิชาเขตทางทะเลของประเทศไทย ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และผลประโยชน์ของชาติทางทะเล โครงสร้างรายวิชา วิชาเขตทางทะเลของประเทศไทย ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
หน่วยการเรียนรู้ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3
หน่วยที่ 1 ลักษณะภูมิศาสตร์ทางทะเลและความสำคัญของทะเล
เรื่องที่ 1 พื้นที่ทะเลของโลก
เรื่องที่ 2 ลักษณะของภูมิศาสตร์ทางทะเลในท้องถิ่นของตนเอง
เรื่องที่ 3 ภูมิศาสตร์ทางทะเลในท้องถิ่นตนเอง
เรื่องที่ 4 ความสำคัญของทะเลในท้องถิ่นตนเอง
หน่วยที่ 2 เขตทางทะเล
เรื่องที่ 1 ขอบเขตของทะเลในท้องถิ่นตนเอง
เรื่องที่ 2 ลักษณะเขตทางทะเลในท้องถิ่นตนเอง
หน่วยที่ 3 เขตการปกครองของจังหวัดทางทะเล
เรื่องที่ 1 ความเป็นมาของเขตการปกครองของจังหวัดทางทะเลในท้องถิ่นตนเอง
เรื่องที่ 2 เขตการปกครองของจังหวัดทางทะเลในท้องถิ่นตนเอง
เรื่องที่ 3 ลักษณะทางกายภาพทางทะเลที่ปรากฎในแผนผัง แผนที่ทางทะเลในท้องถิ่นตนเอง
หน่วยที่ 4 ประโยชน์ของทะเล
เรื่องที่ 1 ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในท้องถิ่นตนเอง
เรื่องที่ 2 กิจกรรมการใช้ประโยชน์จากทะเลในท้องถิ่นตนเอง
เรื่องที่ 3 ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากทะเลในท้องถิ่นตนเอง
เรื่องที่ 4 ความปลอดภัยในการใช้ประโยชน์ทางทะเลในท้องถิ่นตนเอง
หน่วยที่ 5 กฎหมายและหน่วยงานทางทะเล
เรื่องที่ 1 กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับทะเลในท้องถิ่นตนเอง
เรื่องที่ 2 องค์กรและหน่วยงานรับผิดชอบในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลในท้องถิ่นตนเอง
หน่วยที่ 6 หน้าที่ของคนไทยในการปกป้องทะเลไทยและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
เรื่องที่ 1 การปกป้องดูแลและการใช้ประโยชน์จากทะเลในภาคและประเทศไทย
เรื่องที่ 2 หน้าที่ในการร่วมกันรับผิดชอบ ดูแลทะเลในท้องถิ่นตนเอง
หน่วยการเรียนรู้ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6
หน่วยที่ 1 ลักษณะภูมิศาสตร์ทางทะเลและความสำคัญของทะเล
เรื่องที่ 1 ลักษณะของภูมิศาสตร์ทางทะเลในภูมิภาคและประเทศไทย
เรื่องที่ 2 ภูมิศาสตร์ทางทะเลในภูมิภาคและประเทศไทย
เรื่องที่ 3 ภูมิศาสตร์ทางทะเลในท้องถิ่นตนเอง
เรื่องที่ 4 ความสำคัญของทะเลในภูมิภาคและประเทศไทย
หน่วยที่ 2 เขตทางทะเล
เรื่องที่ 1 ขอบเขตของทะเลในภูมิภาคและประเทศไทย
เรื่องที่ 2 ลักษณะเขตทางทะเลในภูมิภาคและประเทศไทย
หน่วยที่ 3 เขตการปกครองของจังหวัดทางทะเล
เรื่องที่ 1 ความเป็นมาของเขตการปกครองของจังหวัดทางทะเลในท้องถิ่นตนเอง
เรื่องที่ 2 แนวทางในการกำหนดเขตจังหวัดทางทะเลในภูมิภาคและประเทศไทย
เรื่องที่ 3 ลักษณะทางกายภาพทางทะเลที่ปรากฏในแผนผัง แผนที่ทางทะเลในห้องถิ่นตนเอง
เรื่องที่ 4 การอ่านและเขียนแผนที่ แผนผังเขตการปกครองของจังหวัดทางทะเล
เรื่องที่ 5 การระบุตำแหน่งและลักษณะทางกายภาพ พิกัดตำแหน่งทางทะเลในแผนที่และลูกโลก
หน่วยที่ 4 ประโยชน์ของทะเล
เรื่องที่ 1 ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในภูมิภาคและประเทศไทย
เรื่องที่ 2 การใช้ประโยชน์ของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งภาคและประเทศไทยอย่างเหมาะสม และมีความรับผิดชอบ
เรื่องที่ 3 การมีส่วนร่วม ในการอนุรักษ์ฟื้นฟู พัฒนา รักษาทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและชายฝั่งในภูมิภาคและประเทศไทย
เรื่องที่ 4 ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในท้องถิ่น ตนเอง
เรื่องที่ 5 วิธีในการป้องกันและอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนา รักษาทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและชายฝั่งภาคและประเทศไทย
หน่วยที่ 5 กฎหมายและหน่วยงานทางทะเล
เรื่องที่ 1 กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับทะเลในภูมิภาคและประเทศไทย
เรื่องที่ 2 องค์กรและหน่วยงานรับผิดชอบในการรักผลประโยชน์ของชาติทางทะเลในภูมิภาคและประเทศไทย
เรื่องที่ 3 การปฏิบัติตามกฎ กติกา กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับทะเลในภูมิภาคและประเทศไทย
หน่วยที่ 6 หน้าที่ของคนไทยในการปกป้องทะเลทยและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
เรื่องที่ 1 รูปแบบและวิธีการในการปกป้องดูแลและการใช้ประโยชน์จากทะเลในภาคและประเทศไทย
เรื่องที่ 2 หน้าที่ในการร่วมกันรับผิดชอบ ดูแล ทะเลในท้องถิ่นตนเอง
หน่วยการเรียนรู้ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3
หน่วยที่ 1 ลักษณะภูมิศาสตร์ทางทะเลและความสำคัญของทะเล
เรื่องที่ 1 ลักษณะของภูมิศาสตร์ทางทะเลของโลก
เรื่องที่ 2 ลักษณะภูมิศาสตร์ทางทะเลของภูมิภาคเอเชีย
เรื่องที่ 3 ลักษณะภูมิศาสตร์ทางทะเลของไทย
เรื่องที่ 4 ความสำคัญของทะเล
หน่วยที่ 2 เขตทางทะเล
เรื่องที่ 1 การกำหนดขอบเขตของทะเล
เรื่องที่ 2 ลักษณะเขตทางทะเล
เรื่องที่ 3 ขอบเขตทางทะเลของไทย
เรื่องที่ 4 อำนาจอธิปไตย สิทธิอธิปไตย และเขตอำนาจในเขตทางทะเลต่าง ๆ ของไทย
หน่วยที่ 3 เขตการปกครองของจังหวัดทางทะเล
เรื่องที่ 1 ความเป็นมาของการกำหนดเขตจังหวัดทางทะเล
เรื่องที่ 2 แนวทางในการกำหนดเขตจังหวัดทางทะเล
เรื่องที่ 3 ลักษณะทางกายภาพทางทะเลที่ปรากฎในแผนผัง แผนที่ทางทะเลในท้องถิ่นตนเอง
หน่วยที่ 4 ประโยชน์ของทะเล
เรื่องที่ 1 ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในท้องถิ่นตนเอง
เรื่องที่ 2 กิจกรรมการใช้ประโยชน์จากทะเลในท้องถิ่นตนเอง
เรื่องที่ 3 ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากทะเล
เรื่องที่ 4 ความปลอดภัยในการใช้ประโยชน์ทางทะเลในท้องถิ่นตนเอง
หน่วยที่ 5 กฎหมายและหน่วยงานทางทะเล
เรื่องที่ 1 กฎหมายทะเลระหว่างประเทศ
เรื่องที่ 2 กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับทะเล
เรื่องที่ 3 องค์กรและหน่วยงานรับผิดชอบในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลในท้องถิ่นตนเอง
เรื่องที่ 4 ความร่วมมือระหว่างประเทศ
หน่วยที่ 6 หน้าที่ของคนไทยในการปกป้องทะเลไทยและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
เรื่องที่ 1 การปกป้องดูแลและการใช้ประโยชน์จากทะเลในภาคและประเทศไทย
เรื่องที่ 2 หน้าที่ในการเป็นเจ้าของทะเล
หน่วยการเรียนรู้ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6
หน่วยที่ 1 ลักษณะภูมิศาสตร์ทางทะเลและความสำคัญของทะเล
เรื่องที่ 1 ลักษณะของภูมิศาสตร์ทางทะเลของโลก
เรื่องที่ 2 ลักษณะภูมิศาสตร์ทางทะเลของภูมิภาคเอเชีย
เรื่องที่ 3 ลักษณะภูมิศาสตร์ทางทะเลของไทย
เรื่องที่ 4 ภูมิศาสตร์ทางทะเลในท้องถิ่นตนเอง
เรื่องที่ 5 ความสำคัญของทะเล
หน่วยที่ 2 เขตทางทะเล
เรื่องที่ 1 การกำหนดขอบเขตของทะเล
เรื่องที่ 2 ลักษณะเขตทางทะเล
เรื่องที่ 3 ขอบเขตทางทะเลของไทย
เรื่องที่ 4 อำนาจอธิปไตย สิทธิอธิปไตย และเขตอำนาจในเขตทางทะเลต่าง ๆ ของไทย
หน่วยที่ 3 เขตการปกครองของจังหวัดทางทะเล
เรื่องที่ 1 ความเป็นมาของการกำหนดเขตจังหวัดทางทะเล
เรื่องที่ 2 แนวทางในการกำหนดเขตจังหวัดทางทะเล
เรื่องที่ 3 ลักษณะกายภาพทางทะเลที่ปรากฏในแผนผัง แผนที่ทางทะเลในท้องถิ่นตนเอง
หน่วยที่ 4 ประโยชน์ของทะเล
เรื่องที่ 1 ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในท้องถิ่นตนเอง
เรื่องที่ 2 กิจกรรมการใช้ประโยชน์จากทะเลในท้องถิ่นตนเอง
เรื่องที่ 3 ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากทะเล
เรื่องที่ 4 ความปลอดภัยในการใช้ประโยชน์ทางทะเลในท้องถิ่นตนเอง
หน่วยที่ 5 กฎหมายและหน่วยงานทางทะเล
เรื่องที่ 1 กฎหมายทะเลระหว่างประเทศ
เรื่องที่ 2 กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับทะเล
เรื่องที่ 3 องค์กรและหน่วยงานรับผิดชอบในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลในท้องถิ่นตนเอง
เรื่องที่ 4 ความร่วมมือระหว่างประเทศ
หน่วยที่ 6 หน้าที่ของคนไทยในการปกป้องทะเลไทยและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
เรื่องที่ 1 การปกป้องดูแลและการใช้ประโยชน์จากทะเลในภาคและประเทศไทย
เรื่องที่ 2 หน้าที่ในการเป็นเจ้าของทะเล
เนื้อหาสื่อประกอบการเรียนการสอน วิชาเขตทางทะเลของประเทศไทย ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และผลประโยชน์ของชาติทางทะเล “ทะเลของเรา” ระดับชั้นประถมศึกษา และ ระดับชั้นมัธยมศึกษา
บทที่ 1 ลักษณะภูมิศาสตร์ทางทะเลและความสำคัญของทะเล
บทที่ 2 เขตทางทะเล
บทที่ 3 เขตการปกครองของจังหวัดทางทะเล
บทที่ 4 ประโยชน์ของทะเล
บทที่ 5 กฎหมายและหน่วยงานทางทะเล
บทที่ 6 หน้าที่ของคนไทยในการปกป้องทะเลไทยและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
กรอบแนวทางการดำเนินการสร้างการรับรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้หนังสือ เรื่อง ทะเลและมหาสมุทร และผลประโยชน์ของชาติทางทะเล กรอบเนื้อหาวิชาเขตทางทะเลของประเทศไทย ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และสื่อประกอบการเรียนการสอน วิชาเขตทางทะเลของประเทศไทย ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และผลประโยชน์ของชาติทางทะเล “ทะเลของเรา” สำหรับประกอบการจัดการเรียนการสอน
แนวทางการดำเนินงานในระดับจังหวัด การดำเนินงานในระดับจังหวัด มีการดำเนินงาน 2 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 การนำหนังสือ เรื่อง ทะเลและมหาสมุทร และผลประโยชน์ของชาติทางทะเลไป ขับเคลื่อนสู่การเรียนการสอนในสถานศึกษา (โดยสามารถนำไปบูรณาการในรายวิชาที่มีความเชื่อมโยงกับเนื้อหาในหนังสือ กิจกรรมชุมนุม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน หรือบูรณาการกับกิจกรรมทางวิชาการที่สำคัญของ โรงเรียน เช่น กิจกรรมลูกเสือ-ยุวกาชาด กิจกรรมวันวิทยาศาสตร์ รวมถึงกิจกรรมอื่นๆ โดยสามารถบูรณาการได้ในทุกระดับชั้น)
ส่วนที่ 2 การนำเนื้อหาวิชา เขตทางทะเลของประเทศไทย ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ไปใช้ประกอบการเรียนการสอน (โดยสามารถไปเปิดเป็นรายวิชาเพิ่มเติม กิจกรรมชุมนุม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน หรือบูรณาการกับกิจกรรมทางวิชาการที่สำคัญของโรงเรียน)
ซึ่งทั้งสองส่วนมีแนวทางการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา ดังนี้
– สถานศึกษาเอกชน (สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน) ขับเคลื่อนโดยสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด
– สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ขับเคลื่อนโดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
– สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ขับเคลื่อนโดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
– สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ขับเคลื่อนโดยสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัด
– สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัด ขับเคลื่อนโดยสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัด
แนวทางการดำเนินงานของสถานศึกษา
1. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
2. ประชุมปฏิบัติการสร้างการรับรู้แก่ครู บุคลากรในสถานศึกษาเกี่ยวกับการนำแนวทางการใช้ หนังสือ ทะเลและมหาสมุทร และผลประโยชน์ของชาติทางทะเล รวมทั้งเรื่องเขตทางทะเล และเขตทรัพยากรทาง ทะเลและชายฝั่ง
3. ออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบบูรณาการในรายวิชาพื้นฐาน หรือรายวิชาเพิ่มเติม หรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (อยู่ในดุลพินิจของสถานศึกษา)
4. สถานศึกษาเสนอคณะกรรมการสถานศึกษา/กรรมการบริหารโรงเรียน/อื่นๆ
5. นำไปสู่การปฏิบัติในชั้นเรียน
6. ติดตาม ประเมินผล และสรุปรายงานผลการดำเนินงาน
หมายเหตุ แต่ละจังหวัดสามารถปรับเปลี่ยนขั้นตอนการดำเนินงานได้ตามบริบทของพื้นที่